ประกันภัยจักรยานยนต์ สำคัญแค่ไหน? รถแบบไหนควรทำแบบไหน?

ขอบคุณข้อมูลจาก : motorival.com ขับมอเตอร์ไซค์ธรรมดาๆต้องทำด้วยหรือ?เรื่องมันอยู่ที่ “ต้องทำ” ไม่ใช่หัวใจของการทำประกันภัยภาคสมัครใจ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าทำไว้แล้วจะเสียประโยชน์แต่อย่างใด กลับกลายเป็นการช่วยเพิ่มประโยชน์แทนไปเสียมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นรถเครื่อง จักรยานยนต์ไฟฟ้าก็นับว่าเป็นยานพาหนะทางบกที่สามารถทำประกันภัยได้ทั้งสิ้น (ตราบใดที่มีเครื่องยนต์) เช่นเดียวกับรถยนต์ปรกติ จักรยานยนต์มีรูปแบบของประกันภัยคล้ายๆกัน โดยใช้การแบ่งระดับความคุ้มครองเป็น ประกันชั้น 1 ไปจนถึงประกันชั้น 3 เหมือนกับรถยนต์ปรกติ แต่จะมีรายละเอียดในเงื่อนไขการทำที่แตกต่างกันตามบริษัทประกันวินาศภัย ที่บทความนี้อยากจะมาไขความกระจ่างให้ทุกคนได้ใช้ในการตัดสินใจกัน

ประกันจักรยานยนต์มีตัวเลือกอะไรบ้าง? อย่างที่กล่าวไปในช่วงต้นบทความ ประกันจักรยานยนต์มีตัวเลือกคล้ายคลึงกับประกันภัยรถยนต์จนอยู่ในระดับว่าแทบจะเหมือนกัน
โดยแบ่งออกเป็น
● ประกันภัยชั้น 1 ● ประกันภัยชั้น 2 ● ประกันภัยชั้น 3 ● ประกันภัยชั้นพิเศษ (2+ และ 3+) ● ประกันภัยรถสูญหาย
- ประกันชั้น 1 จะอยู่ในหมวดของบิ๊กไบค์เท่านั้น หรือ บริษัทประกันภัยปรกติจะอนุญาตให้บิ๊กไบค์ทำ
- ประกันภัยชั้น 2+ แต่ไม่ให้ทำชั้นหนึ่งก็มีเช่นกัน เนื่องจากจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่มีความเสี่ยงสูงกว่า และมูลค่าที่ต่ำกว่ารถยนต์ ทำให้แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์มีตัวเลือกที่แตกต่างกัน
ขับแบบไหน เหมาะกับประกันแบบไหน? เมื่อมาถึงจุดที่เหมาะสม ล้วนขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคนเป็นเรื่องปรกติอยู่แล้ว โดยสำหรับเราขอแบ่งจักรยานยนต์ออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ
1. จักรยานยนต์ขนาดใหญ่หรือบิ๊กไบค์ 2. จักรยานยนต์อายุใช้งานน้อย 3. จักรยานยนต์อายุใช้งานมาก

หลักเกณฑ์ในการประเมินความเหมาะสมนั่นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์และความคุ้มค่าในการลงทุน
กลุ่มบิ๊กไบค์ ค่อนข้างชัดเจน เพราะมีมูลค่าสูงกว่าจักรยานยนต์ปรกติอย่างเห็นได้ชัด หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลและซ่อมแซมจะสูงกว่าจักรยานยนต์ปรกติอยู่แล้ว ซึ่งส่งผลไปถึงค่าเบี้ยประกันภัยด้วย สำหรับเรา ประกันภัยชั้น 1 คือตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่หลายๆบริษัทประกันภัยมักไม่ระบุเอาไว้ว่ามีจำหน่าย เราแนะนำให้ติดต่อกับตัวแทนขายโดยตรงเพื่อต่อรอง แต่ส่วนมากค่าเบี้ยจะสูงมาก หากไม่สะดวกที่จะดูแลในช่วงนี้ เราแนะนำให้ใช้รูปแบบ ประกันภัยจักรยานยนต์ 2+ หรือประกันภัยจักรยานยนต์ 3+ ที่ช่วยดูแลค่าใช้จ่ายจักรยานยนต์คันเอาประกัน(เมื่อประสบอุบัติเหตุ)
จักรยานยนต์อายุใช้งานน้อย กลุ่มนี้อยู่ในประเภทที่ใกล้เคียงกับบิ๊กไบค์ แต่เราไม่แนะนำให้ทำประกันภัยชั้น 1 เว้นแต่ว่าค่าซ่อมแซมจะสูงมาก (แต่เครื่องยนต์ไม่อยู่ในเกณฑ์บิ๊กไบค์หรือซูเปอร์ไบค์) เช่นจักรยานยนต์แนวคาเฟ่หรือสปอร์ตเป็นต้น เหตุผลที่ไม่แนะนำตัวเลือกชั้นหนึ่ง เพราะค่าเบี้ยประกันจะค่อนข้างสูงเกินความจำเป็น ให้เลือกใช้รูปแบบของประกันภัยจักรยานยนต์ 2+ หรือ 3+ ก็นับว่าเพียงพอแล้ว เพื่อไม่ให้เบี้ยประกันสูงจนเกินไป แต่ได้รับความคุ้มครองที่เพียงพอต่อตัวจักรยานยนต์ที่เอาประกันภัย
จักรยานยนต์อายุใช้งานมาก รูปแบบของจักรยานยนต์ที่มีให้พบเห็นในท้องถนนมากที่สุด คงไม่พ้นจักรยานยนต์ที่กำลังเครื่องยนต์ต่ำ หรือมีอายุใช้งานมาก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำ บางคนจะพังไปก็ไม่เสียดายด้วยซ้ำ แต่จริงๆแล้วกลุ่มนี้แหล่ะครับที่ประสบอุบัติเหตุบ่อยที่สุด จักรยานยนต์เก่าๆมักใช้ในการเดินทางระยะสั้น จับจ่ายซื้อของวนเวียนอยู่แถวที่พักอาศัยที่มีความคุ้นเคยสูง ทำให้มีโอกาสประสบอุบัติเหตุได้มากกว่าเพื่อน แต่เมื่อเทียบกับค่าเบี้ยประกันแล้ว จะแพงกว่ามอเตอร์ไซค์ของเราเสียอีก แต่จะให้ไม่ทำเลยก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่ถูกต้อง เพราะแม้จะต้องลงทุนกับเบี้ยประกัน แต่ก็เพื่อป้องกันค่าเสียหายเพิ่มเติมจากอุบัติเหตุ เราแนะนำให้เลือกใช้ประกันชั้น 3 + ประกันภัยรถสูญหาย ที่เบี้ยประกันต่ำ และทำเพื่อรับผิดชอบค่าเสียหายให้แก่คู่กรณี ก็เพียงพอแล้ว ส่วนรถสูญหายนับเป็นผลพลอยได้จากทุนประกัน

ไม่ต้องพูดถึงก็คงเข้าใจว่าเราให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน ผู้ใช้งานทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์จะทราบดีว่าความเสี่ยงสำหรับมอเตอร์ไซค์นั้นสูงแค่ไหน และร้ายแรงขนาดไหน การทำประกันภัยอาจไม่ช่วยให้ชีวิตปลอดภัยขึ้น แต่จะทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเมื่อไหร่ที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน คุณจะมีคนช่วยรับผิดชอบอยู่อีกหนึ่งระดับ และต่อให้คุณไม่ใส่หมวกกันน็อคหรือขับรถยนต์สวนเลนด้วยความมักง่าย ประกันภัยก็ยังช่วยรับผิดชอบค่าเสียหายให้อยู่ดีนะครับ